ความจริง6เรื่อง

ถึงแม้ศาลจะออกหมายจับแล้วก็ตาม
แต่สิ่งที่ประชาชนได้ฟังนั้น
ยังเป็นความจริงที่ไม่ครบทุกด้าน
เพราะความจริงที่ต้องฟังมีอยู่ 6 เรื่อง

1) ความจริงจากผู้ถูกกล่าวหา
2) ความจริงจากผู้ร้องทุกข์
3) ความจริงจากผู้เสียหาย
4) ความจริงจากคณะแพทย์
5) ความจริงเรื่องข้อกฎหมายฟอกเงินและรับของโจร
6) ความจริงเรื่องระเบียบปฏิบัติในการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์
ที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อสังฆมณฑลและชาวพุทธตลอดไปในภายหน้า

จริงอยู่ที่หลายเดือนมานี้
ทุกคนได้พยายามให้ข้อมูลต่างๆ แก่สังคม
ไปตามความเข้าใจของตัวเองอยู่วันละหลายชั่วโมง

แต่สังคมก็อาจยังได้รับทราบข้อมูลไม่ครบทุกด้าน
จึงยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ
ให้เกิดภาพรวมพอที่จะชั่งน้ำหนักได้ว่า
คดีนี้มีมูลฐานความผิดเพียงพอจะตั้งข้อหาได้หรือไม่
และควรจะเชื่อมุมมองทางกฎหมายของใครดี
ระหว่างวัด สหกรณ์ ดีเอสไอ ผู้ร้องทุกข์

1. ในแง่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
การขอออกหมายจับเป็นสิทธิของดีเอสไอ
การอนุมัติก็เป็นดุลพินิจของศาล
การจะสั่งฟ้องไม่สั่งฟ้องก็เป็นอำนาจของอัยการ
เรื่องนี้ประชาชนทราบดีและรัฐก็ให้อำนาจเต็มที่

2. ในแง่ของคณะแพทย์
การวินิจฉัยระดับความเจ็บป่วยเป็นสิทธิขาดของคณะแพทย์
แต่คำวินิจฉัยของแพทย์มีน้ำหนักในทางกฎหมายหรือไม่
เพราะอะไรถึงมีผล และเพราะอะไรถึงไม่มีผล
ซึ่งเรื่องนี้ประชาชนก็ยังไม่ได้รับความกระจ่าง

3. ในแง่ของสหกรณ์
ต้องแบ่งผู้เสียหายเป็น 2 ส่วน คือ
1) สหกรณ์ 2) สมาชิกสหกรณ์

… กรณีแรก ถ้าสหกรณ์เป็นผู้เสียหาย
คู่กรณีตรงนี้จะต้องเป็นสหกรณ์กับคุณศุภชัย
เพราะคุณศุภชัยเป็นผู้นำเงินออกมาจากสหกรณ์

… กรณีที่สอง ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสียหาย
คู่กรณีตรงนี้จะต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์กับสหกรณ์
เพราะสหกรณ์เป็นผู้ดูแลเงินของสมาชิกสหกรณ์

จากกรณีทั้งสองกรณีนี้ ทำให้เกิดความสับสนขึ้นว่า

1. เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ซึ่งอยู่ในฐานะของผู้รับเงินบริจาคจากคุณศุภชัย
กลายมาเป็นคู่กรณีกับสมาชิกสหกรณ์บางกลุ่มได้อย่างไร
เพราะท่านไม่ใช่ผู้ที่ไปนำเงินของสมาชิกกลุ่มนั้น
ออกมาจากสหกรณ์ ท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ทำให้
สมาชิกสหกรณ์กลุ่มนั้นเสียหาย

2. ตามหลักแล้ว เมื่อสมาชิกสหกรณ์ไม่ได้นำเงิน
มาฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายโดยตรง
แต่ได้นำเงินไปฝากไว้กับสหกรณ์โดยตรง
แล้วท่านจะกลายเป็นผู้สร้างความเสียหายให้สมาชิกได้อย่างไร
ที่ถูกต้องสมาชิกกลุ่มนั้นควรจะไปร้องทุกข์กับสหกรณ์มิใช่หรือ
แต่ทำไมถึงมากล่าวโทษเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
4. ในแง่การตั้งข้อหาฟอกเงินและรับของโจร
การตั้งข้อหาฟอกเงิน จะทำได้ก็ต่อเมื่อ
ทำผิดครบ 3 ขั้นตอน คือ
1) เงินนั้นได้มาอย่างผิดกฎหมาย
2) นำมาทำธุรกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย กลายเป็นเงินสะอาด
3) เงินนั้นกลับคืนสู่มือเจ้าของ กลายเป็นเงินถูกกฎหมาย

แต่ในกรณีของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
กลับไม่เข้าข่ายแม้แต่น้อย เพราะว่า
1) ท่านไม่ได้ครอบครองเงินที่ผิดกฎหมาย
2) ท่านไม่เคยนำเงินส่วนตัวไปฝากกับสหกรณ์
3) ท่านกับสหกรณ์ก็ไม่เคยทำธุรกรรมร่วมกัน
4) สหกรณ์ก็ยืนยันไม่พบหลักฐานว่าท่านทำธุรกรรมกับสหกรณ์
5) เงินที่คุณศุภชัยบริจาคมาก็เป็นเช็คทั้งหมด สามารถตรวจสอบ
เส้นทางการเงินได้ชัดเจน
6) การรับเงินบริจาคของท่าน ก็รับมาอย่างเปิดเผย
และนำไปใช้สร้างศาสนสถานตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
ซึ่งเป็นการสร้างสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัว

ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนไม่น้อย
เพราะไม่ว่าพิจารณาอย่างไร ก็ไม่เข้าข่ายการฟอกเงินทั้ง 3 ขั้นตอน
แต่ทำไมดีเอสไอถึงตั้งข้อหาว่าฟอกเงินและรับของโจร
กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นการตั้งข้อหาที่รุนแรงกว่าเหตุหรือไม่
5. ในแง่บรรทัดฐานการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์
การออกหมายจับพระสงฆ์ที่ไม่ใช่คู่กรณีกับผู้เสียหายโดยตรงเช่นนี้

1) จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการใช้กฎหมาย
โดยไม่มีมูลฐานความผิดกับพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลได้หรือไม่

2) จะกลายเป็นการเปิดช่องกฎหมายให้ผู้ไม่หวังดี
สามารถกลั่นแกล้งพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลได้โดยง่ายหรือไม่

3) จะกลายเป็นการเปิดช่องเช่นนี้จะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาหรือไม่

4) จะกระทบกระเทือนต่อการรักษาพระธรรมวินัยของสงฆ์หรือไม่

5) จะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาหรือไม่

6) ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา อันเป็นผลจากการออกหมายจับโดยไม่ตรงกับคู่กรณีเช่นนี้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอนาคต

คำถามต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนจำนวนไม่น้อย
กำลังสับสนและสงสัยว่าอะไรคือบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
ในการใช้กฎหมายกับพระสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล
และประชาชนชาวพุทธทั้งประเทศต่อไปในอนาคต

graphics-875115_1280

—————————————————————————

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙

๓.๐๑ น.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *